วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message) คือ เรื่องราวที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ มีความหมาย และ สาระสำคัญเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ที่ผู้ส่งต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร อาจอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ท่าทาง การแสดงสีหน้า คำพูด น้ำเสียง การสัมผัส เป็นต้น
ตัวกลาง (Channel) คือ ช่องทางที่ทำหน้าที่นำพาข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูป ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การได้เห็น การสัมผัส การดมกลิ่นและรส จากสื่อต่างๆ ที่ใช้ใน การสื่อสาร ผู้รับสาร (Receiver) หน่วยสุดท้ายของการสื่อสาร เพราะส่วนนี้ต้องเป็นผู้ที่รับรู้สิ่งต่างๆ จากผู้ส่งสาร และเป็นสิ่งที่ใช้วัดว่าการสื่อสารครั้งนั้นๆ เป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่ เพราะถ้าผู้รับสารไม่มีความ เข้าใจในเรื่องที่กำลังสื่อสารกัน จะไม่เรียกว่าการสื่อสาร

การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่มโดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่า สื่อ ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับ
2.ข่าวสาร ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ
3.สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเล็กทรอนิกส์
4.ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ

หลักในการสื่อสาร
1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง
4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม
5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว
6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ
7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา

รูปแบบของการสื่อสาร
-การสื่อสารของสัตว์
-การสื่อสารระหว่างบุคคล
-การตลาด
-การโฆษณา
-การโฆษณาชวนเชื่อกิจการสาธารณะ
-การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารภายในบุคคล
-การสื่อสารด้วยคำพูด
-การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
-โทรคมนาคม การสื่อสาร
-โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง

ทฤษฏี แนวคิด หลักการกับการเรียนรู้
คือ ความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง
            การรู้ หมายถึง สภาวะของการรับรู้จากการสัมผัสและสัมพันธ์ต่างๆ รวมถึงรู้วิธีการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
            การเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติแนวคิดและพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ ซึ่งควรเป็นการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
สื่อการเรียนรู้
            สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอด ความรู้ เจตคติและทักษะไปยังผู้เรียนได้

ทฤษฏี แนวคิด หลักการสอน
            คือ ความคิด ความรู้ หรือข้อความย่อยๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
1.สื่อประเภทวัสดุ ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
        1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียน แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ
      1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์
3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ

  สื่อการสอน
สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายถอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
            สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน, แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
             สรุป   สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ